วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์
เรียนทฤษฎี

๐เนื้อหาที่เรียน
-ความสามารถทางการคิด
-ทักษะการคิด จะมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐานที่สำคัญและทักษะการคิดขั้นสูง
-ลักษณะการคิด
-กระบวนการคิด


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์
เรียนทฤษฎี

๐เนื้อหาที่เรียน
แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฎีการเคลื่อนไหว

-ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์

กีเซลล์ใช้คำ ว่าวุฒิภาวะ  เพื่อหมายถึงการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ และรูปร่าง ของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากยีนส์ หรือความพร้อมของ กล้ามเนื้อและระบบประสาทจะปรากฏเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
   กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำ หรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

-ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่ง
ที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
  ทอร์แรนซ์ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”

-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget. 1964) อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากัน
และแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิด
ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ

-ทฤษฎีของอิริคสัน
อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม


วันพฤหัสบดีที่4 กุมภาพันธ์
เรียนปฎิบัติ

อาจารย์เปิดเพลงให้เต้นตามจังหวะของเสียงเพลง จากนั้นก็ให้เเบ่งกลุ่มกันแล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม












หลังจากออกมานำเต้นเป็นกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ออกมาทีละคนโดยให้เลือกออกมาคนละ 2 ท่า









การนำไปประยุกต์ใช้
1.ใช้การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะไปปรับใช้กับเด็ก
2.การเลือกท่าทางในการเคลื่อนไหวที่เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัย

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีรูปแบบการสอนที่สนุกสนาน มียกตัวอย่างและทำให้นักศึกษาดูในท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสม 
-ให้นักศึกษาได้แสดงออกและร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนมีความสนุกสนานกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง
-เพื่อนมีความกล้าแสดงออก
-เพื่อนๆมีความร่วมมื่อและช่วยกันออกความคิดเห็นในการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินตนเอง
-กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น
-ได้รู้ทักษะและวิธีการนำท่าทางการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมไปใช้







วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม
เรียนทฤษฎี

๐เนื้อหาที่เรียน
-สมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย




-สมองของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวา แต่ละซีกก็มีหน้าที่แตกต่างกัน ซีกซ้ายทำงานเกี่ยวกับเรื่องของภาษา เหตุผล ตรรกกะ ตัวเลข ซีกขวาทำงานเกี่ยวกับเรื่องของศิลปะ ดนตรี ความคิดสร้างสรรค์